MENU
โครงสร้างบริหารโรงเรียน

ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน

ข้อมูลนักเรียน

กิจกรรมนักเรียน

กิจกรรมของครูและบุคลากร

เครือข่ายโรงเรียน

บทเรียนออนไลน์





โรงเรียนในสังกัด

 โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว
 โรงเรียนเทศบาลวัดขจรรังสรรค์
 โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง
 โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต
 โรงเรียนเทศบาลพิบูลสวัสดี
 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลนครภูเก็ต

ประวัติโรงเรียน


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ 6)

พ.ศ. ๒๔๕๒ (ร.ศ.๑๒๘)
"เมื่อ ๒๙ เมษายน ร.ศ.๑๒๘ (๒๔๕๒) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ ๖) เสด็จหัวเมืองภาคใต้ และได้ทรงเสด็จเปิดโรงเรียนชั้นปฐมใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตวัดมงคลนิมิต และพระราชทานนามว่าโรงเรียนปลูกปัญญา ตามที่ปรากฏในสำเนาจดหมายเหตุ ฉบับที่ ๔/๔ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน ร.ศ.๑๒๘ ซึ่งคัดมาจากเอกสารกองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร แฟ้มที่ ๕.๕ บ.๓๓/๓๑ "


คัดจาก สำเนาจดหมายเหตุ ฉบับที่ ๔/๔ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘ ซึ่งคัดมาจากเอกสารกองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร แฟ้มที่ ที่ ๕.๕ บ.๓๓/๓๑

สมัยที่ 1
สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ( รัชกาลที่ 6) เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเปิด โรงเรียนชั่วคราว ระดับปฐมศึกษา สำหรับนักเรียนมณฑลสตรีภูเก็จ บริเวณป่าช้าเก่าในวัดมงคลนิมิตรและพระราชทาน นามว่า " โรงเรียนปลูกปัญญา " เมื่อวันที่ 29 เมษายน ร . ศ . 128 ( พ . ศ . 2452)
สมัยที่ 2
โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา จัดตั้งโดยกระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 วันแรกที่ทำการสอนมีผู้ปกครองนำเด็กมาสมัครเรียนเข้าเรียน จำนวน 80 คน ซึ่งมีนายชั้น วรวิทูรเป็นครูใหญ่คนแรก จากคำบอกเล่าและหลักฐานข้างต้นแสดงว่า โรงเรียนนี้ได้เปิดทำการสอน และเรียนมาตั้งแต่ ร . ศ . 128 ต่อมาภายหลังไม่ทราบว่าเพราะเหตุใด โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญาจึงได้ย้ายไปในที่ดินของโรงเรียนสตรี ( ที่ตั้งโรงเรียนปัจจุบัน ) จนกระทั่ง ปี พ . ศ . 2500 โรงเรียนสตรีได้ตกลงแลกเปลี่ยนกับ เทศบาลโรงเรียนเทศบาลปลูกปั
สมัยที่ 3
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ โรงเรียนปลูกปัญญาถูกต้นไม้ล้มทับจึงได้ย้ายมาอยู่โรงเรียนสตรี ตั้งอยู่ถนนสตูล (สถานที่ตั้งโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญาปัจจุบัน) และโรงเรียนสตรีได้ย้ายสับเปลี่ยนกับเทศบาลภูเก็ต ซึ่งตั้งอยู่ในโรงเรียนสตรีในปัจจุบัน ต่อมาโรงเรียนปลูกปัญญาได้ทำการต่อเติมอาคารเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ทั้ง 2 ข้าง อาคารโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดภูเก็ต (สร้าง ร.ศ.๑๒๗) และได้ทำการเปิดการสอน เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๗ มีนักเรียนเข้าเรียน ๖๐ คน มีนายชั้น วรวิทูร เป็นครูใหญ่คนแรก
สมัยที่ 4
เมื่อปี พ.ศ. 2511 จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นรัฐบาล ทางโรงเรียนได้สร้างอาคารหลังใหม่ เป็นอาคาร คสล. 3 ชั้น จำนวน 18 ห้องเรียน กว้าง 10 เมตร ยาว 93 เมตร ทำเป็นโครงการ 4 ระยะ เริ่ม ก่อสร้างเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2511 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 รวมเวลาก่อสร้าง 3 ปี 8 เดือน 6 วัน สิ้นเงินรวมทั้งสิ้น 2,300,000 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2520 ทางโรงเรียนได้สร้างอาคารหลังใหม่ เป็นอาคาร คสล. 3 ชั้น กว้าง 10 เมตร ยาว 93 เมตร สร้างตามกำลังเงินที่ทางรัฐบาลได้จัดสรรให้เพียง 6 ห้องเรียน ส่วนชั้นล่างสุดปล่อยว่างเปล่า เปล่า อาคารจึงยังอยู่ในสภาพที่ยังไม่เรียบร้อยและสมบูรณ์แบบ

พ.ศ. ๒๕๕๒
ด้วยโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ได้รับพระราชทานนาม “ปลูกปัญญา” จากพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อครั้งเสด็จหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ.๒๔๔๒) โรงเรียนครบรอบ ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๒ และโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญาได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพันณวดี ทรงพระกุรณารับโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ไว้เป็นองค์กรภายใต้พระอุปถัมภ์ฯ นับตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๒ สืบไป อ้างถึงหนังสือ วร.๑๒๑/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๒

วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 08.30 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ครั้นสมัยทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงพระราชทานนาม “โรงเรียนปลูกปัญญา” เมื่อพระองค์เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ในรัชสมัยรัตนโกสินทร์ศก 126 (พ.ศ.2452) และต่อมา ได้ย้ายเป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาล ในวันที่ 1 เมษายน 2507 ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษฎ์ ธนะรัชต์ จากปี พ.ศ.2452 ถึง พ.ศ.2552 นับเป็นเวลา 100 ปี ทางเทศบาลนครภูเก็ต สมาคมนักเรียนเก่าปลูกปัญญา คณะกรรมการศึกษาขึ้นพื้นฐาน ชมรมผู้ปกครอง และคณะผู้บริหาร คณะครู นักเรียนโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์ฯ ได้มีมติร่วมกันจัดทำหนังสือเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เพื่อโปรดนำความกราบทูลสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ขอพระบรมราชานุญาตจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เครื่องทรงชุดนายกองใหญ่เสือป่า ม้าหลวงรักษาพระองค์ขนาดเท่าครึ่งพระองค์ และการดำเนินงานจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้ประกอบพิธีอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ แท่นประดิษฐานโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์ฯ เพื่อให้นักเรียนได้ถวายบังคมต่อไป